นักธุรกิจไทย หลายรายประเมินสถานการณ์ การเมือง ว่าอาจจะเกิด “ม็อบนักธุรกิจ” ในปีหน้า
นักธุรกิจขาใหญ่ บุคคลสำคัญ ถ้าต้องตอบคำถามเรื่องการเมือง ในอดีตทุกคนจะโบกมือ ส่ายหน้า ไม่มีใครอยากตอบ
เหตุผลหนึ่งคือกลัวผลกระทบทระเทือนกับกิจการที่เครือข่ายตนเองได้สัมปทาน หรือผลประโยชน์ที่เกี่ยวเนื่อง หรือเกรงว่า “ทัวร์จะลง”
แต่ในปัจจุบัน มีนักธุรกิจใหญ่ หลายรายกล้าคอมเมนต์ปัญหาแศรษฐกิจ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างตรงไปตรงมาและสร้างสรรค์
ทั้งผ่านการสัมภาษณ์ ผ่านการโพสต์ในโชเชียลเน็ตเวิร์ก ต่าง ๆ
ในการสนทนาสัมภาษณ์แบบ “ออฟ เดอะเรคคอร์ด” กับนักธุรกิจใหญ่ ยอดขายแต่ละไตรมาสแตะหมื่นล้าน เขาเปิดปากทันทีว่า “ปีหน้าม็อบนักธุรกิจมาแน่ เพราะปัญหาจะสะสมหนัก และไม่มีการแก้ไขผ่อนคลาย โดยเฉพาะภาคธุรกิจโรงแรม สายการบิน การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมอื่น ๆ จะมีคนตกงาน เดือดร้อน และไม่มีทางออก ต้องไปม็อบ”
ในขณะที่วงสนทนาระดับนักธุรกิจเจ้าของกิจการและครอบครองหุ้นหลักแสนล้าน และนักบริหารมืออาชีพ ตำแหน่งระดับประเทศ ขึ้นเวที ชุมนุมศิษย์เก่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2563 หลายคนสนทนา เปิดหน้าแนะทางแก้ปัญหาเศรษฐกิจไว้ ดังนี้…
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ศิษย์เก่าวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พูดบนเวทีนี้ว่า ประเทศไทยมีปัจจัยเสี่ยง 3 ด้าน คือปัญหาแรงงาน ที่มีการการลดเวลาทำงานของแรงงาน การจ้างงานน้อยลง หนี้ครัวเรือนสูง อัตราแลกเปลี่ยน บาทแข็งค่ามาก ส่งผลต่อโครงสร้างเศรษฐกิจ-ธุรกิจไทย
ขณะที่ นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารทหารไทย หรือ TMB ซึ่งปัจจุบันอยู่ในคณะที่ปรึกษาเศรษฐกิจของนายกรัฐมนตรี เป็นศิษย์เก่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกราย กล่าววรรคทองว่า “เศรษฐกิจไทยสิ้นสุดทางเลื่อน”
เขาบอกว่า ตอนนี้โครงสร้างประชากร-โครงสร้างเศรษฐกิจ ต่างเป็นสังคมแก่-สูงวัย หรือ เอจจิ้งคอร์ปอเรท ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้อานิสงค์ ส้มหล่นจากการส่งออก การท่องเที่ยว การลงทุนทางตรงผ่านบีโอไอ เพราะมาตรการภาษีที่ดึงดูดนักลงทุนจากญี่ปุ่นได้เป็นจำนวนมาก แต่แต้มต่อตกอยู่ในบริษัทใหญ่ ๆ
อุตสาหกรรมธนาคาร อยู่ข้างหลัง ถ้าเศรษฐกิจดี ธนาคารก็จะดีตาม ก่อนวิกฤติเรามีปัญหาเชิงโครงสร้างอยู่แล้ว เมื่อมีสถานการณ์โควิด จะทำให้เร่งเครื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสูงขึ้น
ขณะนี้สังคมผู้สูงอายุไม่ใช่เฉพาะบุคคล แต่เป็นสังคมบริษัทเช่นกัน หรือ “เอจจิ้งคอร์ปอเรท”