ผบ.กกล.มทบ.37 ย้ำทุกฝ่ายต้องทำตามกฎหมาย “ฟาร์มหมู” ทำถูก อบต.ต้องอนุญาต

พล.ต.พิศาล นาคผจญ ส่งหนังสือถึงผู้ว่าฯ แจ้งทุกหน่วยงานปฎิบัติตามกฎหมาย “ไฟเขียวฟาร์มหมู” ผอ.กองช่าง อบจ.เชียงราย ยืนยันแบบแปลนของบริษัทมีความพร้อม อบต.ต้องอนุญาตภายใน 45 วัน


จากกรณีมีชาวบ้านตำบลแม่อ้อกลุ่มหนึ่ง ยื่นหนังสือคัดค้านการสร้างฟาร์มหมูขนาดใหญ่ในตำบลแม่อ้อต่อผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 37 เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยอ้างว่าชาวบ้านจะได้รับผลกระทบจากแหล่งน้ำและกลิ่น จึงขอให้ นายก อบต.แม่อ้อ อำเภอพาน ทำประชาคมชาวบ้านที่ยื่นคัดค้านนี้ด้วย ถ้าชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย ก็ให้บริษัทยกเลิกการสร้างฟาร์มหมู พร้อมทั้งยื่นเงื่อนไขในทำนองข่มขู่ไว้ด้วยว่า หากไม่ดำเนินการตามนี้ พวกตนก็จะร้องเรียนไปยังนายกรัฐมนตรีให้ใช้ ม.44 จัดการต่อไป

ล่าสุด รายงานข่าวจากมณฑลทหารบกที่ 37 (กกล.มทบ.37) แจ้งว่า พล.ต.พิศาล นาคผจญ ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยมณฑลทหารบกที่ 37 ได้เรียกหน่วยงานงานที่เกี่ยวข้องมาประชุม 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อ 27 เมษายน 2559 ครั้งนั้นหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุม เช่น ปศุสัตว์จังหวัด สาธารณสุขจังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด ยังไม่ได้รับทราบเกี่ยวกับแบบแปลนของบริษัท CP (เครือเจริญโภคภัณฑ์) เลย จึงให้บริษัทส่งแบบแปลนก่อสร้างมาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูก่อน อย่างไรก็ตาม อัยการจังหวัดเชียงราย นายเฉลิมเกียรติ ไชยวรรณ ได้ให้ข้อสรุปในชั้นนี้ว่า “ขอให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คำนึงถึงข้อกฎหมาย” ต่อมาได้มีการประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2559 หลังจากที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับและตรวจสำเนาแบบแปลนก่อสร้างที่ฟาร์มหมูยื่นต่อ อบต. แม่อ้อแล้ว

ผอ.กองช่างผ่าน
นายสมชาติ วัฒนากล้า ผอ.กองช่าง อบจ.ชร.ชี้แจงว่า ได้ตรวจแบบแปลนก่อสร้างฟาร์มหมูในพื้นที่หมู่ 11 ตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย เลเอ้าท์ฟาร์ม (Lay Out) ผังแสดงพื้นที่กันชนและระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย แบบบ่อทิ้งซาก แบบบ่อบำบัดน้ำเสีย แบบบ่อระบายน้ำเสียส่งมูลสุกร แบบบ่อเติมรกสุกร แบบบ่อดักทราย แบบบ่อรวม แบบบ่อไบโอแกส 13,000 ลบ.ม. แบบบ่อไบโอแก๊ส COVER LAGOON แบบลานตากมูลสุกร แบบก่อสร้างอาคารต่างๆ อาคารเลี้ยงสุกร อาคารทั้งหลาย ตามกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 และ พ.ร.บ.ขุดดินถมดิน พ.ศ.2543 การขออนุญาตในพื้นที่ของจังหวัดเชียงรายจะต้องยื่นขออนุญาตก่อสร้างตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และยื่นขออนุญาตขุดดินถมดิน เนื่องจากพื้นที่มากกว่า 2,000 ตารางเมตร ตาม พ.ร.บ.ขุดดินถมดิน พ.ศ.2543 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นคือเทศบาล หรือ อบต. โดย นายก อบต.จะเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้อนุญาต รวมทั้งกฎหมายผังเมือง ซึ่งโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดได้ตรวจสอบการให้ประโยชน์ที่ดินแล้ว เป็นที่ดินสีเขียวเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การตั้งฟาร์มสุกรหากดำเนินการตามข้อกำหนดผังเมืองรวมจังหวัดเชียงราย พ.ศ.2556 สามารถดำเนินการได้

นอกจากนั้น แบบแปลนทั้งหมดและแบบแปลนก่อสร้างอาคารต่างๆ ไม่มีปัญหาข้อพกพร่อง เนื่องจากมีสามัญวิศวกรโยธา ตามแบบวิศวกรโยธารับรองแบบ พร้อมรายการคำนวณซึ่งถูกต้องตามหลักวิศวกรรม สภาวิศวกร และเรื่องสำคัญ วิศวกรรมสาขาสิ่งแวดล้อม มีวิศวกรสิ่งแวดล้อมรับรองมา พร้อมรายการคำนวณระบบบำบัดน้ำเสีย และแผนเฝ้าระวังและวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดกลิ่นและน้ำเสีย มีการรับรองอย่างถูกต้อง การออกแบบทางวิศวกรออกแบบมีพื้นที่กันชนป้องกันน้ำภายนอกเข้ามาและป้องกันน้ำภายในออก รวมทั้งป้องกันน้ำท่วม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งถือว่ายึดติดกับสิ่งแวดล้อม และมีพื้นที่กันชนเรื่องต้นไม้ในพื้นที่รอบๆ ด้วย

อีกทั้งจากการตรวจสอบแบบแปลนแล้ว ถือว่าบริษัทมีความพร้อมในการยื่นขออนุญาต ซึ่งผู้อนุญาตหรือผู้อนุมัติคือนายกเทศมนตรีตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาหาร พ.ศ.2522 จากวันที่ยื่นวันแรก ทุกอย่างพร้อม เอกสารพร้อม มีผู้รับรองตามเอกสารรับรอง มีรายการคำนวณ มีการเซ็นทุกอย่างพร้อม ภายใน 45 วันต้องอนุญาต ถ้ามีเหตุขัดข้องอื่นจะต้องมีเหตุผลที่ทาง อบต.ต้องทำหนังสือยืนยันผู้ยื่นว่ามีเหตุขัดข้องประการใด และต่อออกไปอีก 45 วัน ได้จำนวน 2 ครั้ง ต่อจากนั้นต้องอนุญาตวิเคราะห์แบบแปลน กองช่าง อบจ.ชร.จะทำหน้าที่เหมือนเป็นที่ปรึกษาให้ อบต.แม่อ้อ จากที่ได้ตรวจสอบในเบื้องต้น แบบแปลนเป็นไปตามหลักวิศวกรรมโยธา และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ถือว่าผู้ขออนุญาตมีความพร้อม

นิติกรท้องถิ่นบอกไม่มีข้อบัญญัติใดให้ทำประชาคม
ด้านนายรภัสสิทธิ์ นิธินนเศรษฐี นิติกรท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย ชี้แจงต่อ คำถามที่ว่าการก่อสร้างฟาร์มหมูจะต้องทำประชาคมหรือไม่นั้น นิติกรชี้แจงว่า ในการประกอบกิจการฟาร์มหมูทุกเรื่อง การควบคุมอาคาร การขุดดินถมดินจะเข้ากองช่าง อบต.แม่อ้อ การประกอบกิจการอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะเข้าสำนักปลัด อบต.แม่อ้อ และทุกเรื่องจะไปรวมอยู่ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่น คือนายกอบต.ในกระบวนต่างๆ การพิจารณาแต่ละเรื่องจะมีข้อบัญญัติท้องถิ่นกำหนดแนวทางเอาไว้ และข้อบัญญัติเกี่ยวกับการประกอบกิจการอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันใช้ข้อบัญญัติการประกอบกิจการอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ฉบับปี พ.ศ.2548 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับปี พ.ศ.2557 ได้กำหนดแนวทางในการดำเนินการขออนุญาตไว้ ปรากฏว่าในข้อบัญญัติท้องถิ่น ซึ่งกำหนดแนวทางการพิจารณาอนุญาตของนายก ไม่ได้มีส่วนไหนกำหนดว่าในการอนุญาตประกอบกิจการอันเป็นอันตรายต่อสุขภาพจะต้องทำประชาคมไว้ ดังนั้น การพิจารณาแต่ละเรื่องของ อบต.แม่อ้อ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามกรอบที่ข้อบัญญัติที่กำหนดไว้ โดยไม่ทำประชาคม หรือบางเรื่องถ้าท่านเห็นว่ามีผลกระทบต่อประชาชน ก็สามารถใช้ดุลยพินิจเลือกทำประชาคมได้แล้วแต่กรณี

เช่นเดียวกับ พ.ต.อ.วิรัช สุมนาพันธุ์ รอง ผบก.ภ.จว.ชร.กล่าวว่า ตามที่นิติกรท้องถิ่นชี้แจงว่า เป็นอำนาจของนายก อบต.ที่จะใช้ดุลยพินิจว่าจะทำประชาคมหรือไม่ ถ้ายึดตามแบบแปลนที่ถูกต้อง ดำเนินถูกต้อง ก็เป็นเกราะชั้นที่ 1 ถ้าทำไปแล้วตรงตามแบบแปลนทุกประการ ไม่มีเกินไม่มีขาด ก็ต้องจบไปอย่างนั้น

รวมทั้ง นายณัฐพงศ์ ทาแกง ป้องกันจังหวัดเชียงราย แทน รอง ผวจ.ชร. (รับผิดชอบด้านความมั่นคง) มีความเห็นสอดคล้องกับ รอง ผบก.ภ.จว.ชร.ให้ยึดแบบแปลนที่ ผอ.กองช่าง อบจ.ชร.ยืนยันแล้วว่าถูกต้อง ในส่วนประเด็นที่ว่าเป็นอำนาจของนายก อบต.แม่อ้อ ว่าจะใช้ดุลยพินิจทำประชาคมหรือไม่ และนิติกรชี้แจงว่าหากกระทบต่อความเดือดร้อนของชาวบ้านจะประชาคมก็ได้ เห็นว่าตอนนี้น่าจะยึดตามแบบแปลนไปก่อน เพราะผลกระทบยังไม่เกิดขึ้นกับราษฎร

ปศุสัตว์/สาธรณสุขเกี่ยวตอนฟาร์มสร้างเสร็จแล้ว
สำหรับปศุสัตว์ หลังจากมีการก่อสร้างตามแบบแปลนที่กองช่างรับรองเสร็จแล้ว ผู้ขออนุญาตถึงจะมายื่นขอออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม ปศุสัตว์จะเข้าไปตรวจรับรองตามแบบ ถ้าถูกต้องตามแบบ ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด ปศุสัตว์ก็จะออกใบรับรองมาตรฐานฟาร์มให้ เช่นเดียวกับ สาธารณสุขจังหวัดเชียงราย ชี้แจงว่า ตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข ข้อบัญญัติของกิจการที่เกิดอันตรายต่อสุขภาพจะต้องขออนุญาต ซึ่งต้องปฏิบัติตาม 7 ข้อ ทั้งหมดมี 12 ข้อย่อย มีเรื่องที่ต้องปฏิบัติตาม เช่น การจัดหาน้ำให้พอดี เวลาขออนุญาตจะอนุญาตหรือไม่ต้องดู 12 ข้อเป็นหลัก และมีข้อปฏิบัติในข้อ 8 ซึ่งมีข้อบัญญัติหลังจากอนุญาตแล้วมี 5 วงเล็บซึ่งต้องขออนุญาต หมายถึงต้องมีกิจการพร้อมที่จะเปิดกิจการแล้วถึงจะไปขออนุญาต แต่ถ้ายังไม่พร้อมไปขอเจ้าพนักงานยังชะลอได้ ถ้าหากว่าพร้อมเปิดก็สามารถเปิดได้ภายใน 15 วัน

ฟาร์มหมูให้ประโยชน์อื้อ
สุดท้ายบริษัทผู้จะสร้างฟาร์มหมูยืนยันถึงสิ่งที่ชาวตำบลแม่อ้อจะได้รับหลังจากฟาร์มได้เปิดดำเนินกิจการแล้ว ดังนี้
1.ฟาร์มจะบริจาคขี้หมูหมักและกากตะกอนให้ชาวบ้านประมาณ 300 ตัน/ปี
2.บริจาคน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว ประมาณ 120,000 ลูกบาศก์เมตร/ปี
3.โครงการตำบลเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาใช้กับพื้นที่นาข้าวใน ต.แม่อ้อได้ประมาณ 5,000 ไร่
4.จากงานวิจัยของ ม.เกษตรศาสตร์ พบว่า นาข้าว 1 ไร่ สามารถลดค่าปุ๋ยและสารเคมีได้ประมาณ 1,000 บาท แต่ได้รับผลผลิตเพิ่มมากกว่าแปลงนาเคมี ประมาณ 116.6 กก./ไร่ คิดเป็นเงิน 2,000 บาท/ไร่ (ราคาข้าวเปลือก 12 บาท/กก.วันที่ 12/05/58) สรุปได้กำไรเพิ่ม 3,000 บาท/ไร่ ทั้งตำบล 5,000x 3,000 = 15,000,000 บาท/ปี
5.ประชาชนได้สุขภาพที่ดี ลดปริมาณสารเคมี ทั้งจากการทำเกษตรและบริโภค ซึ่งตีมูลค่าไม่ได้
6.สร้างมูลค่าเพิ่ม ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ที่ได้ เช่น ข้าวสารอินทรีย์บรรจุถุง ยี่ห้อของตำบลแม่อ้อ
7.ตำบลแม่อ้อ จะเป็นแหล่งศึกษา ดูงาน ในฐานะ “ตำบลเกษตรอินทรีย์แบบครบวงจร”
8.จ้างคนงานประจำฟาร์ม 60 คน รายได้เฉลี่ยคนละ 10,000 บาท ทำให้สร้างรายได้เข้าตำบลแม่อ้อ ประมาณ 7,200,000 บาท/ปี (มากกว่างบพัฒนาของ อบต.แม่อ้อ ที่มีปีละประมาณ 5-6 ล้าน) ระยะเวลาโครงการฟาร์มหมูไม่น้อยกว่า 30 ปี สร้างรายได้เข้าตำบลแม่อ้อ 7.2×30 = 216 ล้านบาท
9.เสียภาษีโรงเรือน, ที่ดิน และป้ายให้ อบต.แม่อ้อ ปีละ 2.5 แสนบาท (ปัจจุบันอบต.แม่อ้อ เก็บภาษีทั้งตำบลได้ปีละ 1.3-1.6 แสนบาท)
10.บริจาคเงินให้กับวัดและโรงเรียน ปีละหลายแสนบาท (บริษัทสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ตามกฎหมาย)
11.แนวทางการปฏิรูปท้องถิ่น ให้นิติบุคคลเสียภาษีรายได้ 20% ให้กับท้องถิ่น จะทำให้ อบต.แม่อ้อ มีรายได้จากฟาร์มเพิ่มไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท/ปี

สรุป “ไฟเขียวฟาร์มหมู”
เมื่อเป็นเช่นนี้ พล.ต.พิศาล นาคผจญ ผบ.กกล.มทบ.37 จึงมีคำสั่ง
1.ให้ทางจังหวัดเชียงรายดำเนินการชี้แจงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามข้อกฎหมายให้ทราบต่อไป
2.ให้ทางสถานีตำรวจภูธรจังหวัดเชียงราย ดำเนินการชี้แจงเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องให้ทราบต่อไป

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.